วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

น้ำมันมะพร้าว-กะทิดีต่อสุขภาพอย่างไร?


น้ำมันมะพร้าว-กะทิดีต่อสุขภาพอย่างไร?

      
หลายคนเชื่อว่าถ้ารับประทานอาหารที่มีน้ำมันมะพร้าวหรือกะทิเป็นส่วนผสมจะทำให้อ้วนและมีไขมันหรือคอเลสเตอรอลในเลือดสูง แต่คำอธิบายทางวิชาการในปัจจุบันทำให้เชื่อได้ว่าความเข้าใจดังกล่าวไม่ถูกต้องและเป็นการป้ายสีมะพร้าวจนกลายเป็นผู้ร้ายในเรื่องของสุขภาพมานานมากและเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยได้จัดการสัมมนาเรื่อง "น้ำมันมะพร้าวกะทิและมะพร้าวกะทิมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร" ขึ้น โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานเครือข่ายพืชปลูกเมืองไทย ได้บรรยายสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวไว้อย่างน่าคิด
หาได้ที่ศูนย์ภูมิปัญญาไทย กาญจนบุรี
จากคำบรรยายรุบุว่า แม้น้ำมันมะพร้าวจะเป็นกรดไขมันอิ่มตัว แต่กรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าว 48-54% เป็นกรดลอริค (Lauric Acid) และอีก 6-7% เป็นกรดไขมันคาปริค (Capric Acid) ซึ่งทั้งหมดเป็นกรดไขมันที่มีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างจากกรดไขมันชนิดอื่นตรงที่กรดไขมันชนิดนี้จะแตกตัวและถูกย่อยได้ง่ายกว่า ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำดีจากตับอ่อนมาช่วยย่อย ไขมันจึงเปลี่ยนเป็นพลังงานได้หมด ไม่เกิดการสะสมเป็นไขมันในหลอดเลือด หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย กรดไขมันลอริคชนิดนี้ยังเป็นชนิดเดียวกับที่พบในน้ำนมแม่ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะแตกตัวออกเป็นโมโนลอริน (Monolaurin) ซึ่งเป็นสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคทุกชนิดได้ดีกว่ายาปฏิชีวนะที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตซัว และไวรัส รวมทั้งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีรายงานผลการวิจัยในประเทศฟิลิปปินส์ ที่ให้ผู้ป่วยโรคเอดส์รับประทานน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ปรากฏว่าทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น (แต่ไม่ได้ระบุว่าทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคเอดส์)
ขนาดบรรจุ 120 มล.

ในบางประเทศมีการศึกษาพบว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดอันตราย หรือ LDL และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ HDL ซึ่งเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและหัวใจให้ดีขึ้นด้วยโดย ข้อยืนยันประการหนึ่งก็คือ รายงานขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2521 ระบุว่า ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ประชากรบริโภคมะพร้าวทั้งในรูปของกะทิหรือน้ำมันมะพร้าวมากที่สุดประเทศหนึ่งปรากฏว่าอัตราประชากรเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพียง 1 ในแสนคน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ซึ่งไม่นิยมบริโภคน้ำมันมะพร้าวหรือกะทิมีอัตราประชากรเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน 18-187 ใน 1 แสนคน อันที่จริงในบรรดาน้ำมันจากพืชด้วยกันน้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลต่ำสุด คือ น้ำมันมะพร้าว 14 ppm. ในล้านส่วน น้ำมันปาล์ม 18 ppm. น้ำมันถั่วเหลือง 28 ppm. น้ำมันข้าวโพด 50 ppm.ในน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin coconut oil) ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมียังมีวิตามินอีที่เป็นสารต่อต้านการเติมออกซิเจน หรือเป็นตัวป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกเติมออกซิเจนและเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระ (Free radicals) ซึ่งเกิดจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม หรือเกิดจากอาหาร เครื่องดื่ม การสูบบุหรี่ รังสี ความเครียด เป็นต้น
ขนาดบรรจุ 120 มล.
ในเอกสารเรื่อง "บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพและความงาม" ของ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ที่จัดพิมพ์เผยแพร่โดยเครือข่ายพืชปลูกเมืองไทยได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะมี antioxidant คอยทำลายอนุมุลอิสระอยู่แล้ว แต่เมื่อบริโภคน้ำมันพืชประเภทไม่อิ่มตัว ซึ่งน้ำมันประเภทนี้จะถูกเติมออกซิเจนได้ง่ายทั้งระหว่างกระบวนการขนส่ง ระหว่างการจำหน่ายและการเก็บรักษาก่อนบริโภคจึงเกิดเป็นอนุมูลอิสระได้ง่าย อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้จะไปลบล้างประสิทธิภาพของ antioxidant ที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้เซลล์ผิดปกติไป เช่น เยื่อบุเซลล์ฉีกขาด สารพันธุกรรมในนิวเคลียสเปลี่ยนไป เกิดการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับความเสื่อม เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง ไขข้ออักเสบ เบาหวาน ภูมิแพ้ และแก่ก่อนวัย เป็นต้น
ขนาดบรรจุ 1000 มล.
นอกจากนี้ในวิตามินอีที่ได้จากน้ำมันมะพร้าวยังมีสารโทโคไทรอีนอล ซึ่งเป็นรูปของวิตามินอีที่มีอานุภาพสูงกว่าสารโทโคเฟอรอล ซึ่งมีอยู่ในวิตามินอีทั่วไป ด้วยเหตุนี้น้ำมันมะพร้าวจึงมีสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำน้ำมันมะพร้าวไปเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น ครีม หรือ โลชั่นทาผิว จะทำให้ผิวนุ่มเนียน ไม่แตกแห้ง ป้องกันฝ้า กระและทำให้ปราศจากริ้วรอยเหี่ยวย่น เพราะวิตามินอีในน้ำมันมะพร้าวมีอานุภาพมากกว่าในเครื่องสำอางอื่นทั่วไป ด้วยเหตุที่น้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะโมโนลอริน และสารโทโคมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะโมโนลอริน และสารโทโคไทรอีนอลจากวิตามินอีดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมผม จะทำให้ผมดกเป็นเงางาม เส้นผมมีคุณภาพดีและช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะป้องกันการเกิดรังแค คุณปิยะนุช นาคะ นักวิชาการเกษตร สังกัด สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับมะพร้าวมานานได้รับเชิญให้มาบรรยายในงานสัมมนานี้ด้วยกล่าวว่า มนุษย์ใช้น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นยา เป็นอาหาร เป็นเครื่องสำอางมานานนับพันปี โดยเฉพาะในหมู่บ้านชาวเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งใช้น้ำมันมะพร้าวและกะทิประกอบอาหารบริโภคเป็นประจำต่างมีสุขภาพดี ไม่มีโรคหัวใจ มะเร็ง โรคอ้วน เบาหวาน และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังสามารถนำน้ำมันมะพร้าวมาถูทาตัวให้หายปวดเมื่อยหรือใช้ทาผิวเพื่อชะลอความแก่ กะทิเป็นของเหลวที่ได้จากการบีบคั้นเนื้อมะพร้าวสดที่นำมาขูดเป็นฝอย อาจเติมน้ำหรือไม่ก็ได้น้ำมันที่ได้จากการบีบคั้นเนื้อมะพร้าวสดนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ลอยอยู่ข้างบนเรียกว่าหัวกะทิ ส่วนที่อยู่ข้างล้างเรียกว่าหางกะทิ
ขนาดบรรจุ 1000 มล.
ตามข้อมูลปรากฏว่าคนไทยกับคนอินโดนีเซียบริโภคกะทิเฉลี่ยคนละ 6.5-8.2 ก.ก.ต่อปี มากว่าคนฟิลิปปินส์ ซึ่งบริโภคคนละ 0.3-0.6 ก.ก.ต่อปี ส่วนศรีลังกาและชามัวตะวันตกบริโภคกะทิมากที่สุดในโลกคนละ 30-36 ก.ก.ต่อปี การบริโภคส่วนใหญ่จะใช้การปรุงอาหารคาวหวาน โดยเฉพาะอาหารไทยต้องถือได้ว่ามีกะทิเป็นสัญลักษณ์ ในปัจจุบันมีการผลิตกะทิสำเร็จรูปออกมาจำหน่ายและมีการพัฒนาคุณภาพกะทิให้ใกล้เคียงกับกะทิสด เพื่อเวลานำไปปรุงอาหาร รสชาติจะได้ไม่แตกต่างจากกะทิสดมากนัก ซึ่งกะทิที่เป็นอุตสาหกรรมจะต้องมาจากมะพร้าวแก่จัดอายุ 12 เดือน เนื้อมะพร้าวจะต้องแข็งและหนา มีองค์ประกอบคือ ความชื้น 50% น้ำมัน 34% โปรตีน 3.5% เส้นใย 3% เถ้า 2.2% คาร์โบไฮเดรต 7.3% ส่วนองค์ประกอบของกะทิขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในการสกัด โดยปกติจะมีองค์ประกอบดังนี้ ความชื้น 47-56% ไขมัน 27-40% โปรตีน 2.8-4.4% เถ้า 0.9-1.2% คาร์โบไฮเดรต 5.0-16% สำหรับหางกะทิ ซึ่งเป็นส่วนชั้นน้ำที่แยกจากกะทิ ปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งสามารถนำมาบริโภคได้ เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสำหรับเด็กและผู้ที่ไม่สามารถดื่มนมวัวได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งน้ำมันมะพร้าวทั้งกะทิมิได้น่ากลัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากจะสรุปตรงนี้ว่าเพราะน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำธรรมชาติที่มีคอเลสเตอรอลน้อยที่สุด สามารถกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญและป้องกันการสะสมไขมันในร่างกาย มีวิตามินอีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และเมื่อถูกความร้อนจะไม่เปลี่ยนเป็นกรดไขมันชนิดที่เป็นสาเหตุของสารก่อมะเร็ง สรรพคุณที่มีอยู่มากมายนี้คงทำให้หลายท่านที่หน้าเบ้เมื่อเห็นกะทิมันย่องลอยอยู่ในแกงเขียวหวานหรือแกงมัสมั่นคงเปลี่ยนใจ.
ที่มา  
เรียบเรียง : Team Content www.thaihealth.or.th
ภาพประกอบ :  www.thailandwisdom.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น